http://www.slideshare.net/ohpikmy/instant-messenger-im
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557
1. core i3 i5 i7 คืออะไร
Intel Core i3
มาเริ่มกันที่น้องเล็กก่อนเลย อย่างตระกูล Core i3 ที่จัดเป็นตระกูลที่ไม่โดดเด่นมากนัก เนื่องด้วยถูกรุ่นใหญ่กว่าข่ม แต่ก็ยังถือว่าเป็นรุ่นที่น่าคบหาสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องสำหรับใช้งานทั่วไปแบบเบาๆ ราคาสบายกระเป๋า แต่อาจจะไม่ค่อยเห็นในการนำไปใช้เล่นเกมแบบจริงจังนัก เนื่องด้วยการลดประสิทธิภาพบางประการลงมาจากรุ่นใหญ่ เช่นการตัด Turbo Boost ออกไป อีกทั้งผู้ผลิตโน๊ตบุ๊กก็มักจับ Core i3 ไปอยู่ในเครื่องแบบใช้การ์ดจอ Intel HD Graphics ซะเป็นส่วนใหญ่ จะมีที่เป็นการ์ดจอแยกมาในตัวค่อนข้างน้อยรุ่น จึงทำให้คนมักมองข้ามไป
แต่ก็อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นนะครับ ว่า Intel Core i3 นั้นเหมาะกับผู้ที่ใช้งานแบบธรรมดาทั่วๆไป เช่นเล่นเน็ต พิมพ์งาน ดูหนัง เกมออนไลน์ ซึ่งสามารถทำได้อย่างสบายๆ ไม่จำเป็นจะต้องไปซื้อรุ่นที่ใช้ CPU สูงกว่านี้ก็ได้ โดยในตลาดขณะนี้จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 รุ่น คือ
- Intel Core i3-2310M : 2.10 GHz / 2 cores 4 threads / L3 cache 3 MB
- Intel Core i3-2330M : 2.20 GHz / 2 cores 4 threads / L3 cache 3 MB
- Intel Core i3-2350M: 2.30 GHz / 2 cores 4 threads / L3 cache 3 MB
ถ้ามองจากสเปกก็จะพบว่า Intel Core i3 ในแต่ละรุ่นไม่ต่างกันมากนัก โดยเฉพาะความเร็ว ที่ในการใช้งานจริงแทบจะไม่มีความแตกต่างกันในการทำงานเลย เว้นแต่ว่าจะเอาไปเรนเดอร์งานหนักๆ ที่อาจจะเห็นผลต่างอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นมากมายอะไร แต่เอาเข้าจริงๆ มันก็ไม่เชิงว่าถูกต้องตามวัตถุประสงค์การใช้งานที่ Intel ออกแบบมาซักเท่าไร
เมื่อมามองจากรุ่นโน๊ตบุ๊คที่ใช้ Core i3 ในท้องตลาด ถ้าให้เทียบราคาระหว่างรุ่นล่างสุดของ i3-2310M กับ i3-2350M จะพบว่าแตกต่างกันแค่หลักร้อยเท่านั้น หรือแทบจะไม่ต่างกันเลยก็ว่าได้ ส่วนในรุ่นบนๆ นั้นแน่นอนว่าจะต้องมีความแตกต่างกันในด้านสเปก แต่จะเป็นสเปกส่วนอื่นซะมากกว่า เช่น รุ่นราคาสูงหน่อยก็จะมีการ์ดจอมาด้วย เป็นต้น แต่ราคาของเครื่องที่ว่านั้นก็ไปแตะหลักเดียวกันกับราคาของเครื่องที่ใช้ CPU ที่เป็น Core i5 ไปซะแล้ว แต่รุ่นที่ใช้ Core i3 ก็ยังคงมีข้อดีอยู่ นั่นคือความร้อนที่น้อยกว่ารุ่น Core i5 อย่างเห็นได้ค่อนข้างชัด ซึ่งในบางรุ่นก็ต่างกันหลัก 10 องศากันเลย
ถ้าจะให้ฟันธงว่าจะเลือก Core i3 รุ่นไหนน่าซื้อสุด คุ้มสุด ก็ขอแนะนำเป็นรุ่นกลางๆอย่าง Intel Core i3-2330M แล้วกันครับ เพราะเป็นรุ่นที่ค่อนข้างสมดุล ราคาเครื่องก็ไม่แพงเกินความจำเป็นนัก แถมยังมีตัวเลือกในตลาดให้เลือกค่อนข้างเยอะอีกด้วย
Intel Core i5
มาถึงรุ่นกลางที่มีความหลากหลายในตลาดที่สุดกันแล้วครับ ที่มันหลากหลายก็เพราะบรรดาผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คต่างขนรุ่นที่ใช้ CPU เป็น Core i5 ลงสู่ตลาดกันมากมายเหลือเกิน ซึ่งจุดประสงค์ที่ทาง Intel ส่ง Core i5 มานั้น ก็เพื่อตอบสนองการใช้งานในระดับกลางๆ ไม่ว่าจะทั้งพิมพ์งาน ทำงาน ดูหนัง เล่นอินเทอร์เน็ตก็สบาย จะเล่นเกมหนักๆ เกมเบาๆ ก็สามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา เรียกได้ว่าเป็น CPU ที่มีประสิทธิภาพต่อราคาอยู่ในระดับคุ้มค่าเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีเครื่องที่มาพร้อมสเปกที่หลากหลายให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าเรื่องของการ์ดจอแยก เรื่องของขนาดหน้าจอ เรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อ แถมยังมีให้เลือกเกือบจะครบทุกช่วงงบประมาณตั้งแต่ไม่สูงมากจนกระทั่งระดับ high-end กันเลย
โดยตลาดในไทยจะมี Core i5 อยู่หลักๆ ด้วยกัน 3 รุ่น ดังนี้
- Intel Core i5-2410M : 2.30 GHz / 2 cores 4 threads / L3 cache 3 MB / Turbo Boost up to 2.90 GHz
- Intel Core i5-2430M : 2.40 GHz / 2 cores 4 threads / L3 cache 3 MB / Turbo Boost up to 3.00 GHz
- Intel Core i5-2450M : 2.50 GHz / 2 cores 4 threads / L3 cache 3 MB / Turbo Boost up to 3.10 GHz
ก็ยังคงเป็น step เดียวกับ Core i3 ครับ นั่นคือขยับขึ้นทีละ 100 MHz ทำให้หลายคนอาจจะชั่งใจว่าจะซื้อรุ่นไหนดี ซึ่งทางเราขอแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ พยายามตัดรุ่นที่ใช้ Core i5-2410M ออกไปก่อน เนื่องด้วยของเริ่มขาดตลาดแล้ว เพราะเป็นรุ่นเก่าสุดในตลาด ตัวที่น่าสนใจมากกว่าก็คือ Core i5-2430M กับ Core i5-2450M
ถ้ามองแยกตามช่วงราคา ในช่วงที่ไม่เกิน 20,000 บาท ในกลุ่มนี้ Intel Core i5-2430M จะน่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการกราฟฟิกด้วย เพราะรุ่นที่ใช้ i5-2450M ในช่วงราคาต่ำกว่า 20,000 บาทนั้น มักจะมาพร้อมกับกราฟฟิกออนบอร์ด Intel HD Graphics (ที่จริงต้องเรียกว่าการ์ดจอใน CPU)
พอมาดูในกลุ่มของเครื่องที่ราคาเกิน 20,000 บาท จะพบว่ารุ่นที่ใช้ Core i5-2450M ก็เริ่มมีการ์ดจอแยกใส่เข้ามาด้วยแล้ว ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบขึ้นมามากทีเดียวว่าจะซื้อรุ่นไหนดี ถ้าดูจากผลเทสทั้งที่เราเคยเทสมา รวมไปถึงผลเทสจากเว็บต่างประเทศ ก็จะพบว่าคะแนนที่ได้ต่างกันไม่มากนัก จนไม่น่าจะส่งผลกับการใช้งานปกติอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้างานไหนที่ต้องใช้ CPU คำนวณมากๆ เช่น การเรนเดอร์กราฟฟิก การรันโปรแกรมหนักๆ อันนี้อาจจะเห็นผลต่างกันบ้างเล็กน้อยครับ
ดังนั้น NBS ขอฟันธงเลยว่า Intel Core i5-2450M น่าเล่นสุดครับ เนื่องด้วยความครบเครื่องในเรื่องของประสิทธิภาพ รวมไปถึงการ์ดจอในเครื่องที่มีให้เลือกหลากหลายรุ่น หลายหลายประสิทธิภาพกว่า ตั้งแต่รุ่นออนบอร์ดไปจนกระทั่ง NVIDIA GT 630M ตัวล่าสุด แถมราคาก็ต่างกับรุ่นที่ใช้ Core i5-2430M ไม่มาก จำนวนรุ่นที่มีให้เลือกก็เท่าๆกันอีกด้วย
Intel Core i7
ปิดท้ายด้วยพี่ใหญ่อย่าง Core i7 กันบ้าง ในกลุ่มนี้ตัวเลือกด้าน CPU ในตลาดจะมีให้เลือกไม่ค่อยมากนัก แต่ส่วนที่มาอัพราคาให้แต่ละรุ่นมันต่างกันมากที่สุดก็คือส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ การ์ดจอ พอร์ตเชื่อมต่อ ขนาดจอ วัสดุ ที่มีให้เลือกตั้งแต่แบบดีกว่าธรรมดาเล็กน้อยไปจนถึงระดับสุดยอดของบรรดาโน๊ตบุ๊ค ซึ่งก็เหมาะกับจุดประสงค์ที่ Intel ออกแบบมา นั่นคือต้องการให้ Core i7 นั้นเป็น CPU ที่รองรับการใช้งานหนักๆได้อย่างสบาย ไม่ว่าจะทั้งเล่นเกม สำหรับฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ การเรนเดอร์ไฟล์ 3D ด้วยโปรแกรมสามมิติ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือแม้แต่กระทั่งจะใช้งานเล็กๆ ทั่วไปก็ยังใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา
ซึ่งในตลาด รุ่นที่พบกันบ่อยก็จะเป็น
- Intel Core i7-2630QM : 2.00 GHz / 4 cores 8 threads / L3 cache 6 MB / Turbo Boost up to 2.90 GHz
- Intel Core i7-2670QM : 2.20 GHz / 4 cores 8 threads / L3 cache 6 MB / Turbo Boost up to 3.10 GHz
- Intel Core i7-2720QM : 2.20 GHz / 4 cores 8 threads / L3 cache 6 MB / Turbo Boost up to 3.30 GHz
- Intel Core i7-2760QM : 2.40 GHz / 4 cores 8 threads / L3 cache 6 MB / Turbo Boost up to 3.50 GHz
โดยถ้ามองในตลาดกันจริงๆ รุ่นที่ได้รับความนิยมมากจะเป็น Core i7-2630QM และ Core i7-2670QM เนื่องด้วยมีประสิทธิภาพกำลังดี โดยเฉพาะ Core i7-2630QM ที่ออกมาก่อน โดยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เป็น Core i7 รุ่นเดียวในตลาดโน๊ตบุ๊ค จึงทำให้เป็นที่นิยมกันมากสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องประสิทธิภาพสูง
ส่วน Core i7-2760QM นั้นถือได้ว่าเป็นรุ่นภาคต่อของ Core i7-2630QM ที่มีการเพิ่มความเร็วขึ้นมาอีกเล็กน้อย ซึ่งความเร็วที่เพื่มมานี้ จะเห็นผลได้ชัดในกรณีที่มีการเรนเดอร์งานหนักๆ ส่วนในการเล่นเกมนั้นมีผลน้อยมากครับ เนื่องจากไปเน้นที่การ์ดจอซะมากกว่า ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องที่ใช้ Core i7 นี้คงไม่ยากมากนัก เพียงแค่มองเรื่องของการ์ดจอหรือสเปกอื่นๆ เช่น HDD, RAM หรือขนาดจอและพอร์ตเชื่อมต่อเป็นหลักจะดีกว่า เพราะตัว CPU มันทำงานได้แทบไม่ต่างกันเลย เพราะการใช้งานของเครื่องกลุ่มนี้มักจะออกไปทางใช้เล่นเกมซะมากกว่า
ส่วนในตัวของ Core i7-2720QM และ Core i7-2760QM นั้น ออกจะหาได้ค่อนข้างน้อยไปซักนิดนึง จะมีก็ในรุ่นท็อปของแต่ละแบรนด์กันซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็คงมีตัวเลือกไม่มากนัก
แต่กับกลุ่มของรุ่น Core i7-26xx นั้น ถ้าให้ NBS ฟันธงตัวที่คุ้มที่สุด ก็คงจะให้เป็น Intel Core i7-2630QMก็เพียงพอแล้วครับ เนื่องด้วยมีตัวเลือกให้เลือกมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องของสเปกโดยรวมที่แรงกว่าทั้งการ์ดจอและพอร์ตเชื่อมต่ออื่นๆ
2. Multi-Tasking Multi-User คืออะไร
คุณสมบัติการทำงาน ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การทำงานแบบ Multi – Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรม
ในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการ
จะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงาน
ไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มาก
ขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ
โปรแกรม
| |||
การทำงานแบบ Multi - Tasking
| |||
การทำงานแบบ Multi – User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความ
สามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน
ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
| |||
การทำงานแบบ Multi – User
| |||
ระบบปฏิบัติการ Linux คืออะไร
|
Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ |
Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991
โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต ่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล ์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร ์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix |
Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02
ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสน ันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์ ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก |
สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่
|
*เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
|
*ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป
รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ |
*สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน
(Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวน การทำงานระหว่าง Process ต่างๆ |
*มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบ
และหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง |
*มีความสามารถแบบ UNIX
|
* สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
|
*ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS,
Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V |
*เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
|
* Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์, ไลนักซ์, ลีนิกซ์
3.LED OEDแตกต่างกันอย่างไร
1. จอภาพแบบ CRT จอภาพแบบ CRT มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ใช้เนื้อที่วางเยอะ เหมือนจอโทรทัศน์
2. จอภาพแบบ LCD
จอ LCD เป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น โดย ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า จอ LCD ไม่เหมือนจอแสดงผลธรรมดาLCD ไม่ใช่แก้ว ( แต่ก็มีบางชนิดที่ มีส่วนผสมของแก้ว เพื่อทำให้จอหนาเป็นพิเศษ ทุบไม่แตก ) แต่ทำมาจากฟิล์มอ่อนบางที่เกิดความเสียหายได้จากกระดาษทิชชู่อย่างหยาบ คลอรีนและสารเคมีอื่นๆในน้ำประปา จอเหล่านี้บอบบางมาก ต้องดูแลอย่างดีและเบามือมากๆ
3. จอภาพแบบ LED
จอ LED ก็คือ การแสดงแสงที่สว่างสดใสมากกว่า มีความคมชัดมากกว่า ทำงานเร็วและประหยัดไฟมากกว่า น้ำหนักเบากว่า สามารถมองจากมุมมองด้านต่างๆได้ทั้งสี่ด้านของจอ แม้ว่าจะมองมุมไหน ก็ยังสามารถเห็นภาพที่คมชัดและสมจริงได้อยู่ดีนั่นเอง
4. จอภาพแบบ OED
จอ OED screen มีขนาดหน้าจอที่ใหญ่ถึง 5 นิ้ว และความละเอียดที่ 960×544 pixel มีระบบ sixaxis มีกล้องหน้าหลัง จอแบบสัมผัส และรองรับระบบ 3G
4.Flash Drive,Thumb drive ,Handy drive คืออะไร
แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive) หรือ ที่เราเรียกกันว่า Flash Drive (แฟลชไดรฟ์) Handy Drive (แฮนดี้ไดรฟ์) Thumb Drive (ทัมไดรฟ์) มันคืออะไร มีที่มาอย่างไร
ที่มาคำว่า Flash DriveFlash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memoryหรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือนHardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว ที่มาคำว่า Thumb drive Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB –1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย ที่มาคำว่า Handy drive Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่าFlash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย
http://sirintra12345.blogspot.com/2012/12/crtlcdled-oed-1_6.html
http://adisorn12345.blogspot.com/2013/07/multi-tasking-multi-user.html
http://notebookspec.com
|
วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
หน่วยรับข้อมูลเข้า เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่รับข้อมูล หรือคําสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําข้อมูล หรือคําสั่งดังกล่าวไปประมวลผลกลางต่อไป ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่จัดอยู่ในหน่วยรับข้อมูลเข้าได้แก่
-แป้นพิมพ์
(Keyboard)
-เมาส์
(Mouse)
-ไมโครโฟน
(Microphone)
-แสกนเนอร์ (Scanner)
-กล้องดิจิตอล
-ตัวอย่างของหน่วยรับข้อมูลเข้าแสดงในรูป
2 หน่วยประมวลผล (Central Process Unit)
หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
หน่วยประมวลผลกลาง เป็นหน่วยที่สําคัญที่สุด เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ประมวลผลของมูล หรือคําสั่งต่าง ๆ และมีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ให้ทุกหน่วยทํางานสอดคล้องกัน ซึ่งหน่วยประมวลผลการจะประกอบด้วยหน่วยย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
หน่วยความจํา (Memory Unit)
รีจิสเตอร์
(Register) คือ หน่วยความจําที่อยู่ภายใน CPU ทําหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากหน่วยความจําหลัก
และจะนําข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล
รอม
(Read Only Memory: ROM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดถาวรของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บคําสั่งต่าง
ๆ ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลในรอมได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะเก็บความรู้ต่าง ๆ
เอาไว้
แรม
(Random Access Memory: RAM) คือ หน่วยความจําหลักชนิดหนึ่งของคอมพิวเตอร์ทําหน้าที่เก็บข้อมูล
หรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล สามารถแก้ไขข้อมูลในแรมได้ และข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์
เปรียบได้กับกระดาษทดหน่วยคํานวณ และ ตรรกะ (Arithmetic
and Login Unit: ALU) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่คํานวณทางด้านคณิตศาสตร์
เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือคํานวณทางตรรกะศาสตร์ เช่น เปรียบเทียบข้อเท็จ เป็นต้น
หน่วยควบคุม
(Control Unit) เป็นหน่วยที่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานทุกๆ หน่วยในCPU และอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ทํางานได้อย่างสัมพันธ์กัน
3 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
หน่วยแสดงผลเป็นหน่วยที่ทําหน้าที่นําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลกลางไปแสดง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่จัดเป็นชนิดหน่วยแสดงผลได้แก่
-จอภาพ
-เครื่องพิมพ์
-ลําโพง
4 หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary
Storage)
หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น Hard disk, CD-ROM,Tape, Floppy disk เป็นต้น
หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง คือ สื่อในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น Hard disk, CD-ROM,Tape, Floppy disk เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ
เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software)ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ
โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming
Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง
ๆ ขึ้นมา
ชนิดของซอฟต์แวร์
ชนิดของซอฟต์แวร์
เราสามารถแบ่งซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท
คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ
(system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ซอฟต์แวร์ระบบ(system software) คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้
ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง
ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย
เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ
และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software : โปรแกรมระบบปฏิบัติการ)
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น
ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ
หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
·ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ
ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า
และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
·ใช้ในการจัดการหน่วยความจำเพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน
คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
·ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารในแผ่นบันทึก
การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
เราสามารถแยกซอฟท์แวร์ระบบ
ออกเป็น สองส่วน ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ
หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System
: OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี คือ
1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส
เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้
โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ
3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม
เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน
และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน
และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน
ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง
เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา
ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย
เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา
สำหรับแปลภาษา
ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน
คือ
1) ภาษาปาสคาล
เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง
เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก
สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย
มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3) ภาษาซี
เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง
ๆ
4) ภาษาโลโก
เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว
ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน
ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป(Package Software : โปรแกรมสำเร็จรูป)
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package
Software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่ว ๆ ไป
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กรหรืองานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย
แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลงหรือแก้ไขโปรแกรมได้
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง จึงประหยัดเวลา แรงงาน
และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้
ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติอีกด้วย
ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนี้มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในการเขียนโปรแกรม
ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป
ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก
ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย
เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก
ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ - เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร
สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี
เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน - เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ
การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา
ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข
สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น
ๆ ได้กว้างขวาง
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล - ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ
การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส
พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล
การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ
ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ
กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล
โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล
อ่านข่าวสาร
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
3. บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน
เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม
คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง
ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry
Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม
เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application
Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System
Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System
Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System
Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator)เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์
เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer
Operator)เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล
เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง
ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง
ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศ คือ สิ่งที่ผู้บริหารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังนี้
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศ คือ สิ่งที่ผู้บริหารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังนี้
-
มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
-
มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
- มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
- มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
- มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
- มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง
ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม
เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง
ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
-
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
-
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
-
เลือกรายการ
-
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
-งบเงิน
-
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
อ้างอิง :ps.comsci.info/programming/lesson1.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)